กรอบแนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results – KR) ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการ (KPI) ของนโยบายและยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
พฤศจิกายน 27, 2023No Gift Policy
มกราคม 19, 2024อะไรบ้างที่เป็น “อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย” เพื่อเชื่อมโอกาสการลงทุนจากทั่วโลก
“กลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve”
1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility)
อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต หมายถึง อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และเซ็นเซอร์ สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้ เช่น ระบบ ride-sharing มีระบบสนับสนุนการขับ เช่น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ มีการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Energy-efficient ICE) เช่น รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Intelligent Electronics)
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ออกแบบและผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์และซอฟต์แวร์ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์และผู้ใช้ด้วยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้ (Sensors) และวงจรรวม (Integrated Circuits) การนำอุปกรณ์เครื่องใช้มาติดตั้งระบบสมองกลฝังตัวเพื่อให้มีคุณสมบัติใหม่ สามารถสื่อสารระหว่างกันอย่างอิสระผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เช่น ระบบการจราจรอัจฉริยะ ระบบควบคุมพลังงานในอาคารแบบฉลาด ระบบเซนเซอร์ ไบโอเซนเซอร์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์อัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (High Wealth and Medical Tourism)
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หมายถึง การท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่า การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายค่อนข้างสูง
อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการเกษตร หรือเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การปรับปรุงพันธ์ การพัฒนาจุลินทรีย์ในการใช้ประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อการพัฒนาคุณภาพและผลิตภาพของสินค้าและบริการ
5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food For the Future)
อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หมายถึง อุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการแปรรูปและแปลงสภาพให้เป็นอาหารที่ผู้บริโภคต้องการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
อาหารออแกนิค (Organic Food) หมายถึง อาหารที่แปรรูปมาจากผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดสารเคมี
อาหารใหม่ (Novel Food) หมายถึง อาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบหรือมีส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้น ๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (Functional Food) หมายถึง อาหารที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกายในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค
อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) หมายถึง อาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อโรค
“กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve”
6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Industrial Robotics)
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม หมายถึง อุตสาหกรรมการผลิตและให้บริการหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในการเชื่อมโลหะ ซึ่งมักจะเป็นรูปแบบ “แขนหุ่นยนต์” ที่มีแกนเคลื่อนที่ “แบบหมุน (Articulated Robot)”
หุ่นยนต์ที่ใช้ในกระบวนการอัดฉีดพลาสติก โดยมีทั้งแขนหุ่นยนต์ที่เป็นรูปแบบแขนหุ่นยนต์ที่มีแกนเคลื่อนที่ “แบบหมุน (Articulated Robot)” และรูปแบบแกนเคลื่อนที่ “แบบเชิงเส้น (Linear Gantry Robot)”
หุ่นยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ปฏิบัติการทางการแพทย์ มีระบบประสาทสัมผัสด้านความปลอดภัย มีการเรียนรู้คำสั่งและสามารถควบคุมได้
7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ หมายถึง อุตสาหกรรมการบริการการบิน การฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน การซ่อมบำรุงและผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และกิจกรรมทางโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบไปด้วยกิจการที่เกี่ยวข้อง คือ
กิจการสาธารณูปโภคและการบริการเพื่อการขนส่ง (Logistics and Infrastructure) ประกอบไปด้วย กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือบรรทุกสินค้า (Inland Container Depot หรือ ICD) และกิจการขนส่งทางรางและสนามบินพาณิชย์ โดยรวมไปถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานให้เป็นเขตอุตสาหกรรมสำหรับธุรกิจที่มีมูลค่าสูง (High-value Manufacturing) หรือธุรกิจที่ต้องการความเร็วจากการขนส่งทางอากาศ
การให้บริการขนส่งทางรางทั้งการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า ได้แก่ การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจและสังคม นโยบายขนส่งสาธารณะ การวางแผนการขนส่งสาธารณะ การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าทางราง การพัฒนาโดยรอบสถานี การผลิตชิ้นส่วนระบบรางในประเทศ มาตรฐานระบบราง ระบบการออกแบบและก่อสร้างทางโยธาและการวางราง ขบวนรถไฟ ระบบเครื่องกลไฟฟ้าและการสื่อสาร ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการวางแผนจัดการเดินรถ ระบบการซ่อมบำรุง ระบบงานสถานี ระบบตั๋วโดยสาร และแอพลิเคชันระบบสนับสนุนการให้บริการเดินทาง
การให้บริการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน (Specialist Development) ซึ่งประกอบไปด้วยนักบินและลูกเรือ (Pilot and Cabin Crew) บุคลากรด้านเทคนิค (Technician) รวมถึงบุคลากรด้านซ่อมบำรุง และพนักงานภาคพื้น (Ground Staff)
การบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance) ซึ่งประกอบไปด้วยการซ่อมบำรุงชิ้นส่วน การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ และผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน
ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัย (Logistics Hub) ประกอบไปด้วย การขนส่งทางอากาศ (Air Cargo) ศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย (International Distribution Center หรือ IDC) การขนส่งแบบ Cold Chain และการขนส่งที่ใช้ Big Data and Analytics
8. อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry)
อุตสาหกรรมดิจิทัล หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและปรับปรุงกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ประกอบไปด้วยกิจการที่เกี่ยวข้อง 6 ด้าน คือ
ธุรกิจพัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์ ทั้ง Embedded Software, Enterprise Software และ Digital Content และสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่นิคม Software Park
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศ (Domestic and International E-commerce Player) ซึ่งรวมถึงการยกระดับภาคการค้าปลีกของไทยสู่การใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ และ Startup สำหรับผู้บริโภคในประเทศ และดึงดูดผู้ประกอบการ E-commerce ต่างชาติให้เข้ามาลงทุน
ศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค (Analytics and Data Center) เพื่อให้บริการการวิเคราะห์ข้อมูลเจาะลึกของตลาด (Consumer Insights) แก่ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่นิคม Data Center
การบริการเกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ (Cloud Computing) และการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์ (Cyber Security)
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ต่าง ๆ (Internet of Things - Enabled Smart City)
อุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์และแอนิเมชัน (Creative Media and Animation)
9. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หมายถึง การให้บริการทางการแพทย์และด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กิจการด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ และกิจการด้านเวชภัณฑ์ ประกอบไปด้วยกิจการที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน คือ
การให้บริการด้านการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน (eHealth and mHealth)
การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการรักษา วินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล (Remote Health Monitoring Device)
การวิจัยยาและการผลิตยาที่ทันสมัย (Next-generation Medicine)
การวิจัยและผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar)
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism)
10. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Bio-based Energy & Chemicals)
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการเปลี่ยนหรือแปรรูปสารอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มชนิดอื่น ๆ โดยครอบคลุมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจรที่พัฒนาต่อยอดจากอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลและเคมีในปัจจุบัน รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy)
“กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมนโยบายหลักของประเทศ”
11. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน หมายถึง อุตสาหกรรมที่มีการวางแผนให้ทรัพยากรในระบบการผลิตทั้งหมดสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมุ่งเน้นการคงคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ สร้างของเสียในปริมาณที่ต่ำที่สุด และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่
12. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (National Defense Industry)
อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หมายถึง การวิจัยพัฒนา การออกแบบ การผลิต การปรับปรุง การซ่อมบำรุง การแปรสภาพ หรือการให้บริการผลิตภัณฑ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ
13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย จะครอบคลุมถึงกิจกรรมการส่งเสริมการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพที่มีหลักสูตรอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นพัฒนาทักษะทางอาชีพและทักษะเฉพาะทางเทคนิค เพื่อนำความรู้ในเชิงทฤษฎีมาใช้จริง สนับสนุนการเรียนการสอนทักษะในยุคดิจิทัล และผลิตบุคลากรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรม และกิจกรรมการวิจัยพัฒนาที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม
14. อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ที่มา : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
https://www.nia.or.th/14TargetBOI
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.stemplus.or.th/target_industry